ข้อควรระวังในการทำประกัน

ข้อควรระวังในการทำประกัน

นอกจากจะเห็นแก่ประโยชน์และการวางแผนการเงินที่จะได้จากการทำ “ประกัน” ก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ข้อควรระวังในการทำประกัน” ที่ต้องตระหนักถึงกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปดูกันเลยครับ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประกันต่างๆ เป็นอย่างไร?

ประกัน คือ การตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย หรือเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน

  • ผู้รับประกันภัย (Insurer) เป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยจากภัยที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญา
  • ผู้เอาประกันภัย (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ มีหน้าที่ส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัยจนครบกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
  • ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) เป็นบุคคลที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย

ข้อควรระวังและต้องพิจารณาการทำประกัน

  • อย่าลืมพิจารณาค่าคุ้มครองที่ต้องการ ก่อนทำประกันทุกครั้งต้องคำนึงถึงความจำเป็นด้านการเงินเสมอ ถึงแม้การเก็บออมด้วยวงเงินสูงๆ อาจจะดีเมื่อครบกำหนดเอาประกัน แต่หากคุณมีภาระหน้าที่ทางการเงินที่หนักอยู่แล้ว รวมถึงมีภาระเรื่องครอบครัวด้วย ดังนั้นการเลือกจ่ายเบี้ยด้วยกำลังเงินที่ไม่กระทบกับชีวิตประจำวันมากจนเกินไปนักจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด รวมถึงเลือกทำประกันที่มีวงเงินคุ้มครองเทียบเท่าเงินเดือนในแต่ละปีอย่างน้อย 20 ปี จึงจะสามารถให้ประโยชน์ต่อคนในครอบครัวได้อย่างมั่นใจหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา
  • อย่าละเลยการตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน ก่อนทำประกันชีวิตทุกครั้งควรตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเพื่อทำการเช็คสภาพร่างกายก่อนเสมอ เพราะมีความแตกต่างในเรื่องรายละเอียดสิทธิต่างๆ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ที่สุขภาพไม่ดี เช่น เป็นโรคร้ายหรือมีโรคประจำตัวต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อป้องกันการถูกริดรอนสิทธิ จึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพก่อนทำประกันเสมอ
  • เปรียบเทียบข้อเสนอให้หลากหลาย ไม่ต้องรีบร้อนทำประกัน การทำประกันก็เหมือนการเลือกลงทุนในสถาบันๆ หนึ่งโดยมีผลตอบแทนในการลดความเสี่ยงและได้รับเงินก้อนเมื่อครบเงื่อนไข แต่ด้วยความหลากหลายของสถาบันต่างๆ สิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับจึงมีความแตกต่างกันออกไป รวมถึงเงื่อนไขและข้อดี-ข้อเสียของการทำประกันกับสถาบันต่างๆ ด้วย ดังนั้นเพื่อเลือกทำประกันชีวิตที่เหมาะสมและดีต่อตัวคุณที่สุด จึงไม่ควรรีบร้อนและต้องหมั่นเปรียบเทียบข้อเสนอต่างๆ ให้เป็นนิสัย

ทำไมจึงต้องทำประกันต่างๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย

การทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อย คือ สิ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในระยะยาว นอกจากจะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาลแล้ว ยังช่วยให้เราจ่ายเบี้ยประกันได้ถูกกว่าการเริ่มต้นทำประกันในช่วยสูงอายุ

หลักการเลือกประกันให้เหมาะกับช่วงอายุ

  • ประกันสำหรับวัยเริ่มทำงาน (21-30 ปี) วัยทำงานแม้ยังไม่มีปัญหาด้านสุขภาพมากนัก แต่ก็ควรทำประกันสุขภาพเพื่อคอยรองรับความเสี่ยงร้ายแรงที่อาจต้องใช้เงินก้อน รวมถึงประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อสร้างวินัยในการเก็บออม เป็นรากฐานแผนการเงินที่ดีในอนาคต ช่วยสร้างเนื้อสร้างตัว และลดหย่อนภาษีได้ด้วย
  • ประกันสำหรับวัยมีครอบครัว (31-50 ปี) วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มมีภาระ จึงต้องการทำประกันสุขภาพคุ้มครองกรณีล้มป่วยหนักและต้องใช้เงินก้อนใหญ่ รวมถึงทำประกันชีวิตเพื่อความคุ้มครองเป็นเงินก้อนให้ครอบครัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ทิ้งภาระให้คนข้างหลัง และสามารถเริ่มทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อเตรียมตัวยามเกษียณไว้ได้เลย อีกทั้งในวัยนี้ เริ่มจะสร้างครอบครัวกันแล้ว หากมีสมาชิกตัวน้อยที่ต้องคอยดูแล ควรพิจารณาทำประกันเป็นเงินออมให้ลูก รวมถึงทำประกันสุขภาพเด็กและประกันอุบัติเหตุเด็กไว้รองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพราะความซุกซนตามวัยอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ คนเป็นพ่อแม่มีประกันเหล่านี้ไว้ย่อมอุ่นใจกว่า
  • ประกันสำหรับวัยใกล้เกษียณและวัยเกษียณ (51 ปีขึ้นไป) วัยนี้ควรเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงรองรับความเสี่ยง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ที่มักจะเริ่มมาเยือนในวัยนี้ ช่วยให้เรามีคนดูแล ทุกกรณีเจ็บป่วย จะหนักแค่ไหนก็หายห่วง รวมถึงลองพิจารณาทำประกันชีวิตหรือประกันสะสมทรัพย์เพื่อส่งต่อเป็นเงินออมหรือเงินทุนให้ลูกหลานได้ในอนาคต

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อควรระวังในการทำประกัน” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

Cathy Fowler